วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเติมลม ให้กับล้อแม็ก



การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
  เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ  
     เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป 
     หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3 - 5 PSI ( ปอนด์/ตร.นิ้ว  )
     หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ
รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 PSI ( ปอนด์ / ตารางนิ้ว )  ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น ...
    การเติมลมล้อ ของรถเก๋งขนาดเล็ก  ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 PSI ( ปอนด์ / ตารางนิ้ว )
    การเติมลมล้อ  รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่  ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 PSI ( ปอนด์ / ตารางนิ้ว )
    การเติมลมยาง สำหรับรถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 PSI ( ปอนด์ / ตารางนิ้ว )

ผลของ การเติมลมยาง มากเกินไป

    บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
    การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
    การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร

ผลของการเติมลมยาง น้อยเกินไป
    บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
    การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
    การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยลง

การเติมลมยางรถยนต์ มาก-น้อย มีผลอย่างไรบ้าง





การ ขับขี่รถยนต์ให้นุ่มนวลนั้น ต้องอาศัยยางรถยนต์ที่เหมาะสมและเหนือไปกว่านั้นต้องรู้เรื่องการเติมลมยาง เป็นสำคัญด้วย หากเราเติมลมยางไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลเสียกับยาง ความนุ่มนวลในการขับขี่ และอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกันครับ

เติมลมน้อยเกินไป
ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง  ดอกยางสึกผิดปกติ   อาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอก มีความฝึดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ

เติมลมมากเกินไป
เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง   ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมาก   ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก   ขาดความนุ่มนวล

การเติมลมของยางล้อคู่
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลม   และรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา  ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมากชำรุดเสียหายง่าย สึกหรอผิดปกติ เส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ

1.ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว
2. ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา

จำไว้น่ะครับ
ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก.
ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก.
ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้นที่เติมลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70%
เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45%    การเติมลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดี ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน

นอกจากต้องเติมลมให้ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดของมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้น อีกด้วยการตรวจเช็คลมยาง ควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานที่บริษัทรถกำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ  ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้น น้ำมัน และ สารเคมีต่างๆ  หากสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น


การล้างรถยนต์ที่ถูกวิธี



รถใครใครก็รัก และก็ย่อมอยากให้รถของเรามีสีที่สวยและสะอาดเป็นเงาตลอดเวลา แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราต้องเอารถออกมาใช้งานก็อาจเจอกับฝุ่นละอองและบางทีอาจจะโดนสเก็ตก้อนหินที่กระเด็นมาโดนเวลาขับรถหรือบางครั้งก็ขับไปลงน้ำโคลนที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเรามาดูวิธีการล้างรถที่ถูกวิธีกันนะครับและการที่รถสกปรกหรือมีผลต่อสีรถอันแสนสวยของคุณเกิดขึ้นได้จากต้นเหตุหลายประการ ดังนั้น ควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้ก่อนจะเป็นการดี ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อสีและตัวถัง ได้แก่

- ฝุ่นและสิ่งสกปรกบนท้องถนน เช่น เขม่า แมลง มูลนก สารประกอบประเภทด่าง ยางไม้ และสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำลายสีรถได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้
- ฝุ่นควันในย่านโรงงานอุตสาหกรรมก็เป็น ‘ตัวร้าย’ ทำลายสีรถได้เช่นกัน ยิ่งมีสารประกอบประเภทซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งบางทีเค้าเรียกกันว่า ‘ฝนกรด’ นี่แหละเป็นตัวทำลายสีรถได้ดีนัก
- เขตชายฝั่งทะเลซึ่งมีความชื้นและไอเกลือผสมปะปนอยู่ในบรรยากาศ รถบริเวณนั้นออกจะโชคไม่ดีสักหน่อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- ภูมิอากาศแถบร้อน เช่น แสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงมาก อากาศที่มีความชื้นสูง รถที่มีสีอ่อนสามารถเกิดความร้อน 80 องศาเซลเซียส และรถที่มีสีทึบสามารถเกิดความร้อนถึง 120 องศาเซลเซียส ถ้าจอดทิ้งไว้กลางแดดนาน ๆ อาจทำให้สีเริ่มแตกได้โดยเฉพาะพื้นที่รับแสงอาทิตย์เต็ม ๆ เช่น บริเวณหลังคาและฝากระโปรงรถ
- กรวดทรายบนท้องถนนอาจทำให้พื้นผิวของสีถลอก ซึ่งจะทำให้เกิดสนิมตามบริเวณบังโคลน

สิ่งน่ารู้ของการรักษาสีรถ

การ ล้างรถบ่อย ๆ ทำให้สีตัวรถดูสดใสตลอดเวลาและไม่ปล่อยโอกาสให้บรรดา ‘ตัวบ่อนทำลาย’ ทั้งหลายได้มีเวลาเกาะอยู่ตามสีนานจนเกินไป แต่ทั้งนี้การล้างรถควรจะต้องคำนึงถึงการปฏิบัติอย่างถูกวิธีด้วย ประเภทสักแต่ว่าล้างหรือ ‘ล้างลูกเดียว’ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเด็กปั๊มหรือเวลาล้างพวกรถแท็กซี่ที่มุ่งปริมาณ มากกว่าคุณภาพอย่าล้างรถท่ามกลางแสงแดดร้อนจัด ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้กลางแสงแดดหรือเพิ่งเสร็จสิ้นจากการเดินทาง ความร้อนที่ฝากระโปรงยังมีอยู่ควรปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง จนกระทั่งผิวรถเย็นจึงค่อยจัดการล้างทำความสะอาด

การล้างรถ

- ควรล้างรถสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อสีเริ่มสกปรก
- ล้างน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง จาระบีหรือน้ำมันเบรกออกทันทีเมื่อเปื้อนสีรถ แม้ว่าสีรถนั้นจะเป็นยี่ห้อพิเศษที่ทนน้ำมันเบรกทนไฟก็ตาม
- ควรขจัดแมลงที่ติดตามตัวถังก่อนที่จะทำการล้างรถ
- ควรทำความสะอาดตามขอบประตู ฝากระโปรงหน้า-หลังอย่างทั่วถึง
-ใน ช่วงฤดูฝนควรทำความสะอาดค่อนข้างบ่อย อย่าไปคิดว่าเดี๋ยวฝนตกรถก็เปรอะเปื้อนอีก เนื่องจากโคลนที่เกาะตามตัวถังเมื่อเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้ล้างยากและเป็น อันตรายกับสีรถ
- ควรดูดฝุ่นภายในรถด้วย
-ในการล้างรถขั้นแรก ควรใช้น้ำฉีดล้างสิ่งสกปรกให้ละลายเสียก่อน หรือใช้น้ำเปล่าราดโชกตลอดทั่วทั้งคัน จากนั้นใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่มเช็ดถูเบา ๆ อย่าถูแบบกดแรง ๆ หรือซ้ำซากในที่เดียวถ้าใช้ฉีดล้างก็ควรฉีดเบา ๆ
-เริ่มทำความสะอาด จากด้านบนก่อนโดยเริ่มจากหลังคาลงมายังส่วนฝากระโปรงรถ สำหรับส่วนล่างของรถหรือล้อควรล้างในขั้นสุดท้าย และอย่าลืมฟองน้ำที่ใช้สำหรับส่วนล่างต่างหาก อย่าใช้ปะปนกับอันที่ใช้ล้างตัวรถ
- ถ้าใช้พวกแชมพูในการล้างด้วย ต้องล้างน้ำสะอาดธรรมดาอีกครั้งหลังจากใช้แชมพูแล้วและอย่าใช้ผงซักฟอกล้างรถเป็นอันขาด
- เช็ดรถให้แห้งด้วยผ้าชามัวส์หรือผ้านุ่มสะอาด ตรวจดูให้ทั่วอย่าให้มีหยดน้ำหลงเหลืออยู่บนตัวรถ มิฉะนั้นเวลาแห้งมันจะทิ้งรอยคราบขาว ๆ เอาไว้ ยิ่งเป็นรถที่มีสีทึบจะเห็นได้อย่างชัดเจน
- รอยสกปรกที่ยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวสี ควรเช็ดออกด้วยน้ำยาทำความสะอาดทันทีหลังจากล้างรถแล้วเบรกอาจจะเปียกชื้น เพื่อให้เกิดความแน่ใจก่อนออกรถทุกครั้งภายหลังการล้างรถ ควรเหยียบห้ามล้อย้ำสักครั้งสองครั้งเพื่อไล่ความชื้นบนผ้าเบรก ซึ่งอาจเปียกน้ำให้หมดไป

*หลังจากล้างรถเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรดึงเบรกมือ เพราะอาจจะยังมีน้ำเกาะอยู่ที่จานเบรก (ตอนล้างล้อ) ทำให้เกิดอาการ ‘เบรกติด’ ได้

ล้างกระจกหน้าต่าง
หน้าต่าง รถด้านนอกสามารถจะใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาล้างกระจกล้างทำความสะอาด ได้ แต่ด้านในของกระจกที่มีวงจรไฟฟ้าติดตั้งอยู่ (เช่นแผงไล่ฝ้าติดตั้งกระจกหลังที่ป้องกันมิให้เกิดฝ้าจากการเกาะตัวของไอ น้ำในขณะฝนตกหรืออากาศเย็นจัด) ไม่ควรเช็ดล้างแบบเปียก ควรใช้วิธีการปัดทำความสะอาดเท่านั้น อย่าใช้น้ำยาล้างที่มีส่วนผสมของสารประเภทซิลิโคนเป็นอันขาดและไม่ควรใช้ยา ขัดใด ๆ ซึ่งอาจทำให้แผงเส้นลวดชำรุดได้สำหรับใบปัดน้ำฝนส่วนที่เป็นยาง ควรล้างด้วยน้ำสบู่ ระวังอย่าถูกดแรง ๆ จนทำให้ใบปัดเสียรูปทรง หรือขอบยางบิดเบี้ยว

การทำความสะอาดตัวรถ

ตัวถังรถยนต์จะได้รับการเคลือบสีไว้เป็นอย่างดี ถ้าการทำความสะอาดนั้นทำผิดวิธีจะทำให้สีที่เคลือบไว้เสียหาย เช่น เกิดการด่าง การลอกร้าวของสี ดังนั้นเราต้องทำความสะอาดให้ถูกวิธีคือฝุ่น หรือโคลนติดที่ตัวถังรถ สิ่งเหล่านี้จะดูดความชื้นได้ง่าย จะทำให้ผิวของสีเสื่อม ขาดความเป็นเงามัน สีจะซีดจางเกิดความแตกร้าวได้ง่าย ถ้ามีฝุ่นจับที่ไม่สกปรกเกินไปก็ใช้ไม้ขนไก่ปัดทุกวันก็พอเมื่อไม้ ขนไก่ไม่สามารถทำความสะอาดที่ตัวถังรถได้เพียงพอให้ใช้ผ้าอ่อน ๆ ชุบน้ำเช็ดอย่างระมัดระวัง เพราะฝุ่นนั้นจะมีละอองหินหรือสิ่งที่แข็งติดอยู่ ถ้าเช็ดแรง ๆ สีที่เคลือบไว้จะเป็นรอยขีดข่วนควรทำความสะอาดที่ปัดน้ำฝนด้วยถ้ามีโคลนจับเพราะจะทำให้กระจกเป็นรอยได้


เคล็ดลับง่าย ๆ ของการล้างรถให้สะอาด ไม่เกิดรอย และไม่ทำลายสีรถ

1. เริ่มจากฉีดน้ำครับ ฉีดน้ำให้แรงที่สุด เพื่อให้คราบฝุ่น ขี้ดิน และสิ่งสกปรกต่างๆ หลุดออกจากตัวรถให้มากที่สุด
2. ล้างด้วยน้ำเปล่าก็สะอาดเพียงพอแล้ว แต่อาจต้องใช้แรงในการขัดถูมากหน่อย ถ้าอยากให้ล้างง่ายขึ้น สะอาดใสปิ๊ง ก็ให้ใช้แชมพูล้างรถร่วมด้วยครับ
3. รถก็เหมือนบ้าน เวลาทำความสะอาดต้องเริ่มจากด้านบนก่อน ค่อยๆ ล้างจากส่วนบน ลงล่าง
4. ใช้ผ้านุ่ม ๆ เช่น ผ้าสำลี ล้างรถ ไม่ควรใช้ฟองน้ำ เพราะเม็ดทรายหรือฝุ่นจะติดอยู่ในรูพรุนของฟองน้ำ เมื่อถูไปกับผิวสีรถ จะทำให้เกิดรอยขีดข่วน และถ้าทำได้ควรจะนำผ้าไปแช่น้ำไว้ก่อน ยิ่งถ้าใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มด้วยจะดีมาก ในขณะที่ล้างรถก็ต้องหมั่นซักและขยี้ผ้าด้วย
5. โดยทั่วไปส่วนบนของรถจะมีฝุ่นน้อย ในขณะที่ด้านล่างจะสกปรกและมีฝุ่นมาก จึงขอแนะนำให้แยกใช้ผ้า 3 ผืน ผืนแรกใช้สำหรับล้างส่วนบน หลังคา ฝากระโปรงหน้า ฝากระโปรงหลัง และกระจกรถทั้งหมด ผืนที่สอง ใช้ล้างด้านล่างของตัวรถ ตั้งแต่ขอบกระจกด้านล่างลงมา ผืนสุดท้าย ใช้สำหรับทำความสะอาดล้อ และส่วนอื่นที่สกปรกมาก
6. ฉีดน้ำไล่แชมพูออกให้หมด และ ใช้ผ้าแห้งนุ่มๆ เช็ดรถให้แห้งทันที จะได้ไม่มีฝุ่นเกาะและไม่เกิดคราบน้ำบนผิวสีรถ

ล้างแล้วเช็ด

1. ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ ในการเช็ดรถ เนื่องจากผ้าเหล่านี้จะไม่ทำให้รถเป็นรอย การเช็ดรถที่ถูกต้องก็เหมือนกับการล้าง คือควรเช็ดจากด้านบนไล่ลงมาด้านล่างของรถ เพื่อให้น้ำหยดลงด้านล่างให้หมด จะได้ไม่ต้องทำงานสองต่อ
2. ส่วนของรถที่ต้องระวัง คือ ด้านในขอบประตูทั้งหมด ด้านในกระโปรงหลัง ด้านในฝาถังน้ำมัน กระจกหน้ารถ ควรเช็ดให้แห้งที่สุด อย่ามองข้ามเป็นอันขาด
3. ล้อแม็กซ์ ก็ควรจะเช็ดให้แห้งด้วย เพราะถ้าไม่เช็ดจะเกิดเป็นคราบน้ำขึ้น ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ คราบน้ำเหล่านั้นจะเช็ดออกยากจนถึงเช็ดไม่ออกเลย

กลเม็ดเคล็ดลับ

1. ไม่ควรล้างรถเองในตอนเย็น เพราะหากล้างแล้วจอดทิ้งไว้อาจทำให้เกิดสนิมในจุดที่เราเช็ดไม่แห้ง เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมีเครื่องเป่าน้ำให้แห้ง หรือไม่ก็ต้องยอมเปลืองน้ำมันเอารถออกไปขับไกล ๆ ให้ลมช่วยทำให้ทุกซอยทุกมุมแห้งสนิท วิธีนี้คุณผู้ชายอาจใช้เป็นข้ออ้างในการออกจากบ้านตอนเย็นๆ ได้นะครับ ไม่ว่ากัน
2. ไม่ควรล้างรถกลางแดด เพราะนอกจากคนล้างอาจไม่สบายได้แล้ว แสงแดดจะทำให้น้ำแห้งเร็วจนเช็ดไม่ทัน ซึ่งอาจทำให้เกิดคราบน้ำบนผิวสีรถได้ครับ
3. ไม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดรถแทนการล้างรถ เพราะจะเป็นการทำลายสภาพสี ผงฝุ่นต่างๆ ที่ติดบนผ้าจะทำให้เกิดรอยขนแมวยิ่งเช็ดรถมากครั้งขึ้นเท่าไหร่ การเกิดรอยก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
4. ไม่ควรใช้ไม้ขนไก่ หรือแปรงปัดฝุ่นทุกชนิด ปัดฝุ่นเพื่อทำความสะอาด เพราะมันเหมือนกับการใช้กระดาษทรายเช็ดรถเลยทีเดียว ในขณะที่ปัดฝุ่น ไม้ปัดฝุ่นจะลากถูฝุ่นหรือเม็ดทรายไปตามผิวสีรถ ทำให้เกิดริ้วรอยได้ครับ

เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี



สมรรถนะของรถขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องยนต์ และถ้าต้องการการตอบสนองที่ดียิ่งขึ้น ก็จะต้องดูแลสุขภาพของเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะกับน้ำมันเครื่องที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะทาง (หรือเวลา) ที่จะกำหนดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งก็เปรียบเสมือนการคืนความสดชื่นให้กับเครื่องยนต์ยังไงยังงั้น ว่าแต่ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี

สำหรับปัจจัยที่ชี้ชัดว่าควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันได้แล้วนั้น นอกจากระยะทางและระยะเวลาที่ยึดถือปฏิบัติกันอยู่แล้วนั้น ก็จะมีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งถ้าให้เรียงลำดับความสำคัญแล้วก็จะออกมาดังนี้ครับ

- ความถี่ในการสตาร์ทขณะเครื่องเย็นมากๆ ทั้งนี้ก็เนื่องจากการที่เกิดการควบแน่นในขณะที่เครื่องเย็นมากกว่าปกตินั่น เองครับ แต่อันนี้บ้านเราไม่ค่อยเจออยู่แล้วครับ

- สภาพแวดล้อม (หนาวเย็น) โดยรอบ คือ ต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนกว่าที่เครื่องจะถึงอุณหภูมิทำงาน
   
- ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของห้องเพลาข้อเหวี่ยง คือจะสามารถกักเอาสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้ขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ด้านบนได้มากน้อยเพียงใด

- ความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ กำลังอัดน้อยเท่าไหร่ การเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องก็จะยิ่งมากตาม

ระยะทางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ถ้าระยะทางที่ใช้แต่ละวันค่อนข้างสั้นและใช้แต่ความเร็วต่ำ  ก็จะทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วกว่าด้วย อันนี้ “นายT”  ขอเสริมนิดนึงล่ะกันครับ ในกรณีที่ต้องประสบกับสภาพจราจรที่จอดนิ่งบ่อยๆ (โดยเฉพาะกับเมืองฟ้าอมรของเรา) ที่เครื่องยนต์ทำงานตลอด แต่รถไม่เคลื่อนที่นั้น การเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องและการสึกหรอของเครื่องยนต์นั้นจะมากกว่าการขับแบบถนนโล่งๆ นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าต้องประสบกับการจราจรที่แสนสาหัสล่ะก็   เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้เร็วขึ้นอีกนิดก็จะเป็นการดีกว่าครับ หรือกลับกัน ในกรณีที่ใช้ความเร็วสูงต่อเนื่องก็ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็วกว่าด้วยเช่นกันครับ

ถ้าเป็นรถยนต์นั่งที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบ็นซิน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นจะระบุให้เปลี่ยนถ่ายตามเกรดและประสิทธิภาพ ของน้ำมันเครื่อง หรือถ้าเป็นรถที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ ปี แต่ถ้าเป็นผู้ผลิตรถ จะระบุให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 8,000-10,000 กม. หรือทุกๆ 6 เดือน (สำหรับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์) แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าถ้าต้องการการปกป้องสูงสุด ก็ต้องเปลี่ยนกันทุกๆ 5,000 กม. หรือ 3 เดือนนั่นแหละครับ พูดง่ายๆ ว่าเปลี่ยนยิ่งบ่อยก็ยิ่งยืดอายุของเครื่องนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเองล่ะครับ
   
แจ้งเตือนเมื่อถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องติดตัวมาจากโรงงาน ซึ่งนั่นทำให้การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ขับไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะใช้งานจนเกินระยะทางที่กำหนด แต่ถ้ารถคุณไม่มี (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น) ก็ไม่ต้องกลัวไปครับ ตัวช่วยมีเยอะแยะ อย่างที่ “นาย ก” นิยมใช้ก็จะเป็นการบันทึกลงในโทรศัพท์มือถือ ทั้งระยะทาง, วัน/เดือน/ปีที่เปลี่ยนถ่าย และแบรนด์-รุ่นของน้ำมันเครื่องที่ใช้ แต่ถ้าโทรศัพท์มือถือหายก็ตัวใครตัวมันละกันครับ หรือจะหากระดาษใบเล็กๆ จดรายละเอียดใส่ไว้ในช่องเก็บของก็ได้ครับ
   
ในกรณีที่เป็นรถจอดมากกว่าวิ่ง อย่างน้อยๆ ก็ควรที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน เพราะทุกครั้งที่เครื่องยนต์ทำงาน ภายในเครื่องยนต์จะมีคราบเขม่าและความชื้นจากการเผาไหม้ตกค้างอยู่นั่นเอง ครับ และความชื้นกับชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นโลหะนั้นก็ไม่ค่อยจะถูกกันซะด้วยซิครับ ถึงจะจอดนิ่งๆ ก็เลี่ยงเรื่องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไม่ได้นะครับ
   
ด้วยรูปแบบการใช้งานของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ทำให้ความถี่ในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของรถไม่เท่ากัน เพราะบางคนอาจใช้รถแค่เดือนละ 1,000 กม. ในขณะที่บางคนเดือนเศษๆ ก็ถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้ว ในกรณีที่ต้องการยืดระยะทางหรือเวลาในการเปลี่ยนถ่าย อันเนื่องมาจากไม่สะดวกที่จะต้องเข้ารับบริการบ่อยๆ ก็จะต้องกระโดดไปเล่นกับ Fully Synthetic Oil แล้วล่ะครับ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้น้ำมันเกรดใด ที่จะละเลยไม่ได้เลยก็คือต้องหมั่นตรวจสอบปริมาณและสภาพของน้ำมันเครื่อง อยู่เสมอด้วยล่ะครับ จริงๆ แล้วก็ทุกชนิดนั่นแหละครับ อ้อ อย่าลืมเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องและแหวนรองน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องทุก ครั้งด้วยนะครับ

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีเปลี่ยนยางรถยนต์ด้วยตนเอง



หลายๆคนคงประสบกับปัญหาที่ว่าขับรถไปสถานที่ใดๆก็ตาม แล้วยางรถยนต์ของคุณเกิดรั่วหรือแตกขึ้นมา พอดี โดยในระแวกนั้นอาจไม่มีอู่ซ่อมรถยนต์อยู่เลย เพื่อเป็นการป้องกันกับปัญหานี้ไว้ก่อนเพราะเราไม่รู้ว่ายางรถจะมารั่วจะมาแตกตอนไหน ฉะนั้นเราจึงควรมรู้จักกับวิธีเปลี่ยนยางรถยนต์ด้วยตนเองไว้จะดีที่สุด
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีติดรถไว้
1.  ยางอะไหล่ที่พร้อมใช่งาน
2.  แม่แรง
3.  ประแจที่ใช้ถอดน็อตที่ล้อ
4.  ปายไฟฉุกเฉิน หรือ แผนไปสะท้อนแสงฉุกเฉิน
5.  ไฟฉาย

ขั้นตอนในการเปลี่ยนยางรถยนต์
1.  เมื่อยารถมีปัญหาให้นำรถมาอยู่ในที่ๆมีพื้นแข็ง ปลอดรถคันอื่น หรือที่ๆเหมาะสม
2.  ถ้าเป็เกียร์อออโต้ให้เข้าเกียร์ไปที่ P แล้วดึงเบรกมือ , เกียร์ธรรมดาให้ไปที่ R แล้วดึงเบรกมือ
3.  เปิดไฟฉุกเฉิน หรือ นำป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสงฉุกเฉินออกมา เพื่อคอยเป็นสัญญาณเตือนให้รถคันอื่นๆทราบว่ารถเราจอยอยู่ และ กำลังมีปัญหาเกิดขึ้น
4.  นำยางอะไหล่ออกมา
5.  นำแม่แรงมาวางบริเวณที่ใกล้กับล้อมากที่สุด จากนั้นหมุนปลายตัวเสริมไปในทิศตามเข็มนาฬิกา กระทั่งด้าบนสุดของแม่แรงจะสัมผัสกับชุดขึ้นแม่แรง โดยต้องดูให้มั่นใจก่อนว่าขอบของแม่แรงพาดอยู่ในร่องของแม่แรง
6.  ถอดน็อตที่ล้อทั้งสีตัวออก แล้วนำยางเก่าออกมาและใส่ยางอะไหร่เข้าไปแทน โดยก่อนจะใสล้ออะไหร่เข้าไปให้ใช้ผ้าเช็ดฝุ่นที่ดุมเบรกและล้อด้านในออกเสียก่อน
7.  ขันน็อตทั้งสีกลับเข้าที่เดิมให้แน่น
8.  หมุนแม่แรงไปในทิศทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้แม่แรงลงมาในตำแหน่งเดิม
9.  ทำทุกๆขั้นตอนด้วยความระมัดระวัง